รีวิว TRESemme Serum ออยล์เซรั่มบำรุงผม 3 สูตร กู้ผมเสียคืนผมสลวยสวยระดับพรีเมียม
สาระน่ารู้

ชวนเช็ก! ก้อนเนื้อแบบไหนอันตราย และอาการของโรคมะเร็งเต้านม

1,688
3 ต.ค. 2566
เช็กมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

เคยมั้ย ส่องกระจกแล้วรู้สึกว่าหน้าอกเรามันแปลก ๆ ไป หรือ คลำใต้รักแร้ คลำเต้านมแล้วเจอก้อนแปลก ๆ โผล่ขึ้นมาให้กังวลใจเล่น แน่นอนว่าอาการเหล่านี้ บางครั้งอาจเป็นก้อนซีสต์ หรือเกิดความผิดปกติในต่อมน้ำเหลืองของร่างกายเราก็ได้ แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของความเสี่ยงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกันค่ะ

มะเร็งเต้านม คือ การเกิดก้อนเนื้อในหน้าอกที่อาจเกิดจากเซลล์ของเนื้อในเต้านมเติบโตขึ้นเอง และขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ แบบที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ด้วย วันนี้ *Cosmenet จะพาไปดูกันว่ามะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร อาการเป็นแบบไหน ที่ต้องคอยเช็กก้อนเนื้อหน้าอกด้วยตัวเองต้องทำยังไง ไปไขข้อสงสัยพร้อม ๆ กันเลยค่าา ~*



วิธีเช็กก้อนเนื้อในหน้าอกด้วยตนเอง


วิธีเช็กก้อนเนื้อในหน้าอกด้วยตัวเอง

วิธีตรวจเต้านมหรือเช็กก้อนเนื้อในหน้าอกด้วยตนเอง มีดังนี้

1.เช็กเต้านมในวันที่ประจำเดือนรอบนั้นหมดไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีอาการจากประจำเดือนมาแทรกซ้อน
2. ถอดเสื้อและยืนหน้ากระจก ยกมือขึ้นมาประสานไว้ท้ายทอย เพื่อสังเกตรูปร่าง และขนาดของเต้านม ว่าแตกต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน
3. มองหารอยบุ๋ม ก้อนเนื้อที่มองได้ด้วยตาเปล่าทั้งใต้รักแร้และที่เต้านม รวมมองหาสีผิวที่เปลี่ยนไป ผดผื่นที่ขึ้นบนเต้านม รวมถึงผิวสัมผัสบริเวณเต้านมที่เปลี่ยนไป
4. ลองบีบคลึงเต้านมของตัวเอง เพื่อหาจุดที่มีความเจ็บ ปวด คัดตึง ที่ผิดปกติไปจากเดิม
5. เช็กก้อนเนื้อในรักแร้ ด้วยการยกแขนไปแตะท้ายทอย 1 ข้าง เพื่อสัมผัสดูว่ามีก้อนเนื้อใต้แปลก ๆ ที่ไม่เคยมีอยู่ใต้รักแร้หรือเปล่า และทำซ้ำกับอีกข้าง
6. เช็กก้อนเนื้อในหน้าอก หรือในเต้านมด้วยตนเองด้วยการยกแขนแตะท้ายทอย และใช้นิ้ว 3 นิ้วอีกข้างนึง กดและคลึงบริเวณขอบเต้านมด้านนอกมาจนถึงหัวนมด้านใน ทำซ้ำ ๆ ให้ทั่วเต้านม และทำซ้ำกับอีกข้าง
7. เช็กก้อนเนื้อหน้าอกคล้ายวิธีที่ 6 แต่เปลี่ยนจากกดข้างนอกมาข้างใน เป็นวนนิ้ว 3 นิ้ว กดและคลึงลากเป็นก้นหอยหรือวงกลม จากขอบเต้านมด้านนอก มาจนถึงหัวนมด้านใน และทำซ้ำกับอีกข้าง
8. สำหรับคนที่อยากได้ความแม่นยำ ให้ทำวิธี 6 กับ 7 อีกครั้ง แต่ให้เปลี่ยนจากการยืน เป็นการนอนราบแทนค่ะ อาจจะใช้หมอนมาประคองช่วงไหล่เพิ่มเติมก็ได้นะคะ
9. หากพบก้อนเนื้อที่เสี่ยง เช่น ก้อนเนื้อที่แข็ง ไม่เคลื่อนที่ บีบไม่ลงไม่นุ่ม ร่วมกับเต้านมมีความผิดปกติไป ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติเหล่านี้เพิ่มเติมค่ะ

นี่ก็เป็นวิธีการเช็กก้อนเนื้อที่เต้านมและใต้รักแร้ด้วยตัวเอง ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรสังเกตเต้านมด้วยตัวเองทุก ๆ เดือน และพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมทุก ๆ 3 ปี และเมื่ออายุ 35 - 40 ปี เป็นต้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี และอัลตราซาวด์หรือทำเมมโมแกรมเพื่อคัดกรองหาก้อนเนื้อให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นนะคะ


สาเหตุของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เกิดจาก เซลล์ที่ผิดปกติในท่อน้ำนม หรือเซลล์ที่เกิดในเนื้อเต้านม เติบโตขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดก้อนเนื้อในหน้าอก สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง และมักพบในผู้หญิงในวัย 50 ขึ้นไป แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปัจจุบันนี้ สามารถคัดกรองและตรวจพบมะเร็งเต้านมในกลุ่มอายุ 20-40 ปีได้แล้วเช่นกัน

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม มีดังนี้

1. พันธุกรรม : แน่นอนว่าหากพ่อแม่ หรือครอบครัวฝั่งใดฝั่งนึงมีความเสี่ยง หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ยีนเหล่านั้นก็อาจส่งมาให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ด้วยเช่นกัน
2. ฮอร์โมน : สำหรับผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนนานๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนอื่น ๆ เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไวกว่าปกติ หรือก่อน 12 ปี ผู้หญิงอายุเยอะ ราว 55 ปี และประจำเดือนยังไม่หมด รวมทั้งผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนมาเป็นระยะเวลานาน
3. น้ำหนักตัวมาก : ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากหรืออยู่ในภาวะอ้วน จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นกว่าคนอื่น เนื่องจากมีเซลล์ไขมันในร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเยอะ ซึ่งส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งเติบโต โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน หากยังคงมีน้ำหนักตัวเยอะเกินจะเสียงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนอื่นถึง 40%
4. การดื่มแอลกอฮอล์ : เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์นั้นทำให้ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้นในทุกครั้งที่ดื่ม แถมยังทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ช้าลงอีกด้วย นอกจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
5. การรับประทานอาหาร : การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ เพราะไขมันเหล่านี้จะไปสะสมร่างกายและกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นมา เพราะฉะนั้นพยายามลด งด และทานอาหารไขมันสูงแต่น้อยแทนนะคะ
6. ขาดการออกกำลังกาย : แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่ไม่ออกกำลังกายแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านม แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงทั้งด้านพันธุกรรม นิสัยการดื่ม การทานอาหาร และมีน้ำหนักตัวเยอะ หากยังคงไม่ออกกำลังกาย ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งก็จะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่ถ้าเราหมั่นออกกำลังกายก็จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ และช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนให้ปกติขึ้นด้วย

มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบที่ไม่ค่อยแสดงอาการ ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะพบความผิดปกติ เพราะฉะนั้นอย่านิ่งนอนใจนะคะ หากรู้สึกผิดปกติ หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากครอบครัวอาจเคยเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ ก็แนะนำให้ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมไปด้วยเลยเพื่อความสบายใจค่ะ ^^



อาการของโรคมะเร็งเต้านม


อาการของโรคมะเร็งเต้านมที่เข็กได้ด้วยตัวเอง

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่มักไม่มีอาการผิดปกติและไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ในช่วงแรก แต่มักมีอาการให้เห็นเมื่อถึงระยะลุกลามที่เชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปส่วนอื่น ๆ แล้ว จึงนับเป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัวแล้วเดาทางยากอยู่เหมือนกันค่ะ *Cosmenet เลยลิสต์ความผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณและอาการของโรคมะเร็ง ดังนี้

อาการแรกเริ่มของมะเร็งเต้านมที่พบในผู้ป่วยส่วนมาก จะมีอาการดังนี้
  • มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในหน้าอก เต้านม หรือใต้รักแร้
  • เนื้อเต้านมบุ๋มลงไป หรือเหมือนมีลักยิ้มที่เต้านม
  • มีผื่นขึ้น ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือผิวสัมผัสบริเวณเต้านมเปลี่ยนไป
  • มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดและรูปร่างของเต้านมและหัวนม
  • เจ็บ คัด ตึง บริเวณเต้านมทั้งช่วงที่มีรอบเดือนและไม่มีรอบเดือน
  • มีน้ำหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม

เราจึงต้องหมั่นเช็กร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ เพราะ อาการแรกเริ่มของมะเร็งเต้านมไม่ค่อยมีความเจ็บปวด แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านมทีละนิดทีละหน่อย และอาการเหล่านี้ อาจบ่งบอกปัญหาสุขภาพอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมได้ด้วย เช่น เป็นซีสต์ ตั้งครรภ์ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันหรือติดเชื้อ หรือเป็นโรคผิวหนังอื่น ๆ เพราะฉะนั้น หากเจอความผิดปกติก็ไม่ต้องแพนิคไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเช็กหาสาเหตุของอาการเหล่านี้กันอีกทีเพื่อรับการรักษาได้อย่างตรงจุดค่ะ


มะเร็งเต้านม มีกี่ระยะ?


มะเร็งเต้านม มีทั้งหมด 4 ระยะ
  • ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กบริเวณเต้านม หรือรักแร้
  • ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งเต้านมจะโตขึ้น และเชื้อมะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเรียบร้อยแล้ว อาจก่อให้เกิดก้อนหรืออาการบวมในบริเวณที่เชื้อไปถึง ร่วมกับอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย

หากพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะที่ 1 จะสามารถควบคุมอาการและรักษาได้มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นระยะที่เชื้อยังไม่แพร่กระจาย ผู้ป่วยยังแข็งแรง และใช้เวลาฟื้นฟูไม่มากเท่าระยะอื่น ๆ จึงเป็นเหตุผลที่เราควรเช็กความผิดปกติของเต้านมตัวเองให้เป็น และหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอนั่นเองค่ะ


วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม

แน่นอนว่าถึงแม้เจ้ามะเร็งเต้านม จะดูน่ากลัว เกิดขึ้นแบบ random สุด ๆ แต่วิธีดูแลตัวเองป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมก็ยังเป็นวิธีเบสิกที่ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ตรวจเต้านมเป็นประจำ : สามารถตรวจด้วยตัวเองที่บ้านได้ตลอด และควรหมั่นสังเกตตัวเองเสมอ
♥ สำหรับคนที่อายุ 20 ขึ้นไป ให้ตรวจด้วยตัวเองทุกเดือนตามวิธีด้านบน และเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเพิ่มทุก 3 ปี
♥ ส่วนคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยตัวเองทุกเดือน และให้แพทย์เช็กและคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี
การหมั่นเช็ก หมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านมและร่างกายอยู่เสมอ จะทำให้เรารู้จักตัวเอง จับสังเกตได้ไว และถ้าเกิดเจอก้อนเนื้อหรืออาการที่น่าสงสัยขึ้นมาก็จะได้รักษาและดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ
2. ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก : เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันทำงาน ร่างกายแข็งแรง และฟื้นฟูตัวเองได้เร็ว เมื่อออกกำลังกายสม่ำเสมอ เราจะควบคุมน้ำหนักและไขมันได้ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายสมดุลด้วยค่ะ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : การทานอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และไขมันต่ำ มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารและวิตามินครบถ้วน และการลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงจะลดความเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย
4. เลิกบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด รวมถึงการดื่มแอลกอฮอลล์มาก ๆ จะทำให้เซลล์ร่างกายถูกทำลายบ่อย ๆ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ฟื้นฟูตัวได้ช้า และเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการกระตุ้นเซลล์มะเร็งในร่างกายเพราะฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
5.  หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตราย : สำหรับคนที่ทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีในยาฆ่าแมลง และสารเคมีในอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ก่อให้เกิดเป็นสารก่อมะเร็งได้ และสารเคมีในควันบุหรี่ ก็ทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง ไม่สัมผัส สูดดม สิ่งปนเปื้อนเหล่านี้เข้าไปนะคะ

เพราะฉะนั้นการหมั่นใส่ใจตัวเอง ดูแลสุขภาพ อาหารการกิน และตรวจสุขภาพอยู่เสมอ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่เราจะดูแลตัวเองได้ค่ะ ^^


เป็นยังไงบ้างเอ่ย? กับ มหากาพย์ของมะเร็งเต้านมที่เป็นภัยเงียบและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แถมโรคนี้ไม่ได้เกิดแค่กับผู้หญิงเท่านั้นนะคะ ในงานวิจัยของเกาหลีพบว่าในปี 2012 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกว่า 2 แสนราย และ 0.3% หรือ 68 ราย เป็นผู้ป่วยชายค่ะ ถึงแม้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าผู้หญิงมาก แต่ผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาให้ถูกต้องนะคะ ด้วยความห่วงใยจาก Cosmenet :)

ถ้าชอบคอนเทนท์สุขภาพแบบนี้ หรืออยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม คอมเมนท์กันมาได้เลยน้าา เดี๋ยวจะไปสรุปแล้วมาแชร์ให้อ่านอีกแน่นอนค่ะ ♥

What's new
รีวิวกันแดดนีเวีย 6 รุ่นฮิต! ทา  2 ข้อนิ้วหน้าไม่ลอย สบายผิวรีวิว TRESemme Serum ออยล์เซรั่มบำรุงผม 3 สูตร กู้ผมเสียคืนผมสลวยสวยระดับพรีเมียมรีวิวกันแดดนีเวียเกาหลี NIVEA SUN Sensitive Protect & Light Feel SPF50+ PA+++ เบาสบายผิว ฟีลกู๊ดรับซัมเมอร์!VICHY ประเดิมอีเว้นท์ใจกลางกรุงปารีสในรอบ 5 ปี พร้อมเชิญ “อแมนด้า" ร่วมงานในฐานะ Brand Partnerรวม 7 อาหารโพรไบโอติกส์สูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน พร้อมปรับสมดุลลำไส้14 ครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว ผิวมัน ผิวแพ้ง่าย 202410 เครื่องนวดหน้ายี่ห้อไหนดี หน้ายกกระชับ เก็บกรอบหน้าชัดดูดวงความรัก การงาน การเรียน การเงิน ระหว่าง 28 เม.ย. - 4 พ.ค. 67 (ทุกราศี) Pick a card! ทายใจความรักจากเครื่องสำอาง คุณเป็นคนทุ่มเทกับความรักขนาดไหน?กิจกรรม :: ชวนทดลองใช้ คู่ล้างหน้า ดูโอ้สยบสิวผิวไชน์ไบรท์ Garnier Micellar Cleansing Water  Salicylic BHA และ Garnier Bright Complete Anti-Acne Cleansing Foam จำนวน 50 รางวัล
COMMENTS
2 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
หมอสูติเคยเตือนผู้หญิงอย่าไปทานพวกสมุนไพรบำรุงเลือดโลหิตมากนะคะ ทำให้เกิดเนื้องอกได้ทั้งเต้านม และมดลูก อายุ 35 ไปแล้วควรตรวจมะเร็งเต้านมทำแมมโมแกรมบ้าง ลดโอกาศเสี่ยงค่ะ
7 ต.ค. 2566 เวลา 11:31 น.
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณนะคะ🧡💙💜❤️💛
5 ต.ค. 2566 เวลา 8:59 น.